การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภาคส่วนอุตสาหกรรม

การผลิตของระดับ

ภูมิภาคอาเซียน

ในปีพ.ศ. 2562 ประเทศในระดับภูมิภาคอาเซียนเริ่มต้นนำอุตสาหกรรม 4.0 เข้ามาในประเทศ

5 องค์ประกอบหลักของอุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรมการผลิตในระดับภูมิภาคอาเซียนเข้าขั้นวิกฤตอย่างไร?

ในปีพ.ศ.2562 ภูมิภาคอาเซียนติดอันดับ 6 ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
และคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่เฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปีในอีกสิบปีข้างหน้า
ทั้งนี้อุตสาหกรรมภาคการผลิตถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตจีดีพีของภูมิภาค
ปีพ.ศ.2562 อยู่ที่ร้อยละ 21 หรือคิดเป็นมูลค่า 670 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขนาดของอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคอาเซียน

เทียบกับจีดีพีรวมของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนปีพ.ศ. 2561

แม้ระดับภูมิภาคอาเซียนจะมีขนาดใหญ่ แต่อุตสาหกรรมภาคการผลิตติดอยู่ในอันดับสี่ของโลกเท่านั้น ตามหลังประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี
ในค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมนั้นประเทศสมาชิกระดับภูมิภาคอาเซียนมีคะแนนต่ำกว่า
ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนีอย่างมาก ยกเว้นประเทศสิงคโปร์

การเปรียบเทียบผลผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคอาเซียน

ปีพ.ศ. 2560 มีการกำหนดการวัดค่าผลผลิตดังกล่าวตามมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อลูกจ้างในหนึ่งอัตรา โดยวัดหน่วยเป็นพันดอลลาร์สหรัฐ

ผลกำไรของอุตสาหกรรมการผลิต

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึงปี 2560

ถึงแม้อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว ด้วยการเร่งเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาค
แต่ด้วยการประยุกต์ใช้อุตสาหกรรม 4.0 ในปัจจุบันยังตามหลังประเทศจีนที่ได้มีการลงทุนอย่างเต็มที่
ในด้านระบบเครื่องจักรอัตโนมัติและระบบหุ่นยนต์ใน 10 ปีที่ผ่านมา
ยุทธศาสตร์นี้ทำให้ผลผลิตของประเทศจีนเติบโตขึ้นอีกร้อยละ 84 เทียบกับค่าเฉลี่ยร้อยละ 38 ของภูมิภาคอาเซียน

แต่แล้วก็เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ที่ทำให้สถานการณ์ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป

การปฏิรูป

อย่างเร่งด่วน

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กระตุ้นให้ต้องสร้างระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย

การพึ่งพาแรงงานของมนุษย์ในกระบวนการผลิตผนวกกับการขาดวิสัยทัศน์ในการออกแบบระบบการผลิต
ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำทำให้เป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตกับการตอบสนองการขับเคลื่อนธุรกิจ
ในยุคที่ความต้องการของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอน การปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้ให้ทันสมัยขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับผู้ผลิตต่อการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างรวดเร็ว

กล่าวได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
สู่การปฏิรูปเร่งด่วนในอุตสาหกรรมภาคส่วนนี้

ความท้าทายของการแข่งขัน

ในภาคอุตสาหกรรม 4.0

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างรวดเร็วผู้ผลิตในภูมิภาคอาเซียนกำลังเร่งนำเทคโนโลยี
มาพัฒนาระบบการผลิต ร้อยละ 39 ของผู้ผลิตได้นำระบบศูนย์ควบคุมกลางมาใช้
ซึ่งเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตและความโปร่งใสของระบบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

ร้อยละ 25 ของผู้ผลิตกำลังเร่งปรับใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติ
เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงาน
จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงความต้องการระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่น่าประทับใจ
แต่การแข่งขันในการกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะแห่งอนาคตนั้นประกอบไปด้วยความท้าทาย 3 ประการได้แก่
ความหลากหลายของข้อมูลที่ทำให้ไม่สามารถจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การขาดแคลนผู้จัดการที่มีฝีมือ
และภัยคุกคามต่อความปลอดภัยทางออนไลน์

ความหลากหลายของข้อมูลที่ทำให้ ไม่สามารถจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ได้ การขาดแคลน ผู้จัดการมีฝีมือ ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยทางออนไลน์

ตามการวิจัยของ IDC ปริมาณข้อมูลจากอุตสาหกรรมการผลิตแทบจะไม่ได้ถูกจัดเก็บเข้าระบบให้เป็นหมวดหมู่
ผู้ปฏิบัติการและวิศวกรต้องรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายเหล่านี้ด้วยตนเอง
ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยืดเยื้อและสิ้นเปลืองเวลา
มีส่วนทำให้ไม่เกิดนวัตกรรมใหม่และไม่เป็นการส่งเสริมต่อความร่วมมือในองค์กร

การสร้างโรงงานอัจฉริยะด้วย

ศูนย์ LUMADA

ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าถึงอนาคตอุตสาหกรรมการผลิตภูมิภาคอาเซียน
Hitachi ได้ดำเนินการขั้นแรกในการสร้างศูนย์ Lumada ในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2561
ด้วยเป้าหมายคือเป็นศูนย์รวมบริการดิจิทัลที่จะติดตั้งระบบศักยภาพ
ในด้าน Internet of Things และระบบวิเคราะห์คลังข้อมูลขนาดใหญ่
ให้กับองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0

ศูนย์ Lumada เป็นแพลตฟอร์มในด้าน Internet of Things ที่ให้คุณและ Hitachi ร่วมกันสร้างดิจิทัลโซลูชั่น
ได้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจของคุณและให้คุณเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงของ Hitachi
ผ่านบริการการวิเคราะห์ข้อมูลจากปัญญาประดิษฐ์
ซึ่งจะนำไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับกระบวนการผลิตของคุณ

เมื่อได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้ผลิต ทำให้ Hitachi เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล
เมื่อได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับโรงงานอัจฉริยะและระบบวิเคราะห์ข้อมูลเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตามผู้ผลิตหลายรายมีการตอบรับมากขึ้นหลังได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่
ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและผลกำไรให้กับพวกเขาได้อย่างไร

“ภาคการผลิตของภูมิภาคอาเซียนต้องทำการปฏิรูปทางดิจิทัล
หากคิดจะปรับปรุงการแข่งขันเชิงต้นทุนและการแข่งขันเชิงความเสี่ยง
ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบวิเคราะห์เป็นองค์ประกอบหลัก
ของผลิตภัณฑ์การผลิตอัจฉริยะของ Hitachi ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องนี้”
Mr. Akihiro Ohashi
Executive Director
ICT Solutions Business
Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd

นอกจากการสร้างโรงงานอัจฉริยะ Hitachi มีเป้าหมายที่จะยกระดับอุตสาหกรรมด้านการขนส่งด้วยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ
กับระบบเครือข่ายการขนส่งทั้งหมด

ในปีพ.ศ. 2562 Hitachi ได้เปิดตัวบริการการแบ่งปัน
การใช้ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ร่วมกันในประเทศไทย

ด้วยบริการนี้ เจ้าของธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากยานพาหนะที่ยกเลิกการให้บริการไปแล้วในระบบขนส่งของพวกเขา
เพื่อร่วมกันให้บริการจัดส่งของไปยังสถานที่ ที่มีปลายทางในเส้นทางที่ใกล้กัน

Hitachi ยังคงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของศูนย์ Lumada
ให้ก้าวไกลกว่าเดิมด้วยการร่วมมือกับคู่ค้า
ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัย

ด้วยความร่วมมือผ่านการวิจัยกับหลากหลายบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
Hitachi สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิตโดยแบ่งออกเป็นสามส่วน

การเพิ่มผลผลิต
ในอุตสาหกรรมการผลิต

วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจาก
ภาคส่วนการผลิตเพื่อปรับสมดุล
การปฏิบัติการในโรงงาน

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่ง
ด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ความหนาแน่นของระบบจราจร
พื้นที่จัดเก็บสินค้าและสถานที่จัดส่ง
เพื่อสร้างเส้นทางพิเศษ
ให้ระยะทางสั้นลง
และจัดส่งสินค้าได้เร็วขึ้น

การคาดการณ์
ระบบซ่อมบำรุง

สามารถช่วยเหลือผู้ผลิตในการประเมิน
การซ่อมบำรุงเครื่องจักรล่วงหน้า
ทั้งแบบทันการณ์และระยะไกล
รวมถึงการฝึกอบรมให้กับ
เจ้าหน้าที่หน้างานที่อยู่ต่างพื้นที่ด้วย

หากคุณสนใจต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการการผลิตอัจฉริยะของ Hitachi จะสามารถช่วยคุณได้อย่างไร

กรุณากดเข้าดูเพื่อทำความเข้าใจกรณีศึกษาของเราเพิ่มเติม
01
เครื่องมือช่วยใน การวิเคราะห์ข้อมูล วิธีที่ GM และ Hitachi เปลี่ยนจากการผลิตยานยนต์ เป็นการผลิตหน้ากากอนามัย ใน 6 วัน
02
การร่วมมือกันระหว่าง โรงงานผลิต JUKI กับความเชี่ยวชาญ การปฏิบัติการของ Hitachi นำไปสู่ความล้ำหน้า ด้านการผลิตที่เหนือกว่า
03
เมื่อระบบการทำงานระยะไกล เริ่มเป็นที่ต้องการสำหรับ โรงงานส่วนใหญ่ในช่วงที่มี การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ความคาดหวังของการมี โรงงานอัจฉริยะในอนาคตจึงเกิดขึ้น
04
มอบรอยยิ้มให้กับ การใช้ชีวิตในทุกวันของเรา เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถ ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับ อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
กรุณากดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารอ้างอิงสำหรับรูปแบบอินโฟกราฟิกนี้